หลักสูตร ระดับปริญญาตรี สาขาวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ
ชื่อหลักสูตร ภาษาไทย: เทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Technology Program in Biotechnology Innovations
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย): เทคโนโลยีบัณฑิต (นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ)
ชื่อย่อ (ไทย): ทล.บ. (นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ): Bachelor of Technology (Biotechnology Innovations)
ชื่อย่อ (อังกฤษ): B.Tech. (Biotechnology Innovations)
Facebook : หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ศูนย์นนทบุรี BTISciRUS (https://web.facebook.com/BTISciRUS)
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา (https://www.facebook.com/BTISciNext)
กิจกรรมหลักสูตร
หลักสูตรจุลชีววิทยาและนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ร่วมศึกษาดูงาน ณ ห้องปฏิบัติการกลาง และสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
เมื่อวันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2567 ผศ.ดร.พรพรรณ รัตนะสัจจะ ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา พร้อมด้วย ผศ.ดร.ชื่นสุมณ ยิ้มถิน ประธานหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ และอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้นำคณะนักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาขาวิชาจุลชีววิทยา และสาขาวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ เข้าร่วมโครงการศึกษาดูงาน ณ ห้องปฏิบัติการกลาง...
รายละเอียดหลักสูตร
ชื่อเต็ม (ไทย): เทคโนโลยีบัณฑิต (นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ)
ชื่อย่อ (ไทย): ทล.บ. (นวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ): Bachelor of Technology (Biotechnology Innovations)
ชื่อย่อ (อังกฤษ): B.Tech. (Biotechnology Innovations)
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 120 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ดังนี้
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาบูรณาการสู่ความเป็นพลเมืองที่พึงประสงค์ 12 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร 12 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 84 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเฉพาะพื้นฐาน 30 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน 47 หน่วยกิต
- กลุ่มวิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 7 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
วิชาหลัก (Hi-light)
– พื้นฐานเทคโนโลยีชีวภาพและการประยุกต์
– เทคโนโลยีชีวภาพการจัดการของเสีย
– เทคโนโลยีวัสดุชีวภาพ
– เทคโนโลยีชีวภาพพลังงานทางเลือก
– สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education: CWIE)
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
- สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือเทียบเท่า ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกประเภทวิชาหรือเทียบเท่า และมีคุณสมบัติอื่นๆ ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ภาคผนวก ก) หรือ
- สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาทุกสาขาวิชาหรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทุกประเภทวิชาหรือเทียบเท่า หรือระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา โดยใช้การเทียบโอนผลการเรียน ตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ภาคผนวก ก)
อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา
- นวัตกรหรือนักเทคโนโลยีชีวภาพด้านพลังงาน
- นวัตกรหรือนักเทคโนโลยีชีวภาพด้านจัดการสิ่งแวดล้อมโรงงาน
- เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (R&D)
- ผู้ประกอบการ/เจ้าของธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
- ผู้สอน/วิทยากรในสถาบันการศึกษา
- นักวิจัยหรือผู้ช่วยนักวิจัยในภาครัฐและเอกชน
- อาชีพอิสระที่เกี่ยวข้องกับสายงานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ
ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา เปิดสอนในระดับปริญญาตรี
ขั้นตอนการสมัครเรียน
กรอกเเบบฟอร์มการสมัครเรียน
กรอกเเบบฟอร์มการสมัครเรียน กดปุ่มบันทึก เเละรอผลทางเว็บไซต์ที่สมัคร
ตรวจสอบสถานะ
ตรวจสอบสถานะการสมัครเเละกรอกเเบบฟอร์มรายงานตัวผ่านเว็บไซต์ https://admissions.rmutsb.ac.th/web_admis
พิมพ์เเบรายงานตัว
เมื่อนักศึกษาทำทุกขั้นตอนเรียบร้อยให้พิมพ์ใบรายงานตัวพร้อมใบ Payin ชำระเงินผ่านช่องทางที่มหาวิทยาลัยกำหนด เเล้วส่งเอกสารรายงานตัวให้มหาวิทยาลัย
ถ้านักศึกษายังไม่เข้าใจขั้นตอนการสมัครเรียนสามารถ คลิกดาวน์โหลดคู่มือการสมัครเพิ่มเติม