ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง Knowledge, Attitude, and Behavior of Infection Prevention and Control among Registry Nurses at Sawangha Hospital, Angthong Province / นันท์ธิภา วัฒนเขื่อนขันธ์ Nunthipa Wattanakhurnkhan
- November 25, 2024
- admin
- 0
ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง
Knowledge, Attitude, and Behavior of Infection Prevention and Control among Registry Nurses at Sawangha Hospital, Angthong Province
Authors
นันท์ธิภา วัฒนเขื่อนขันธ์
Nunthipa Wattanakhurnkhan
(Received: 28 October 2024; Revised: 9 November 2024; Accepted: 20 November 2024)
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ก่อนและหลังพัฒนาแนวปฏิบัติเพื่อควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลแสวงหา จำนวน 15 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ paired t-test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่าแนวปฏิบัติเพื่อควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลซึ่งมีสาระสำคัญประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การพิทักษ์สิทธิผู้ป่วยและจริยธรรม 2) การประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนได้รับบริการสุขภาพ 3) แนวปฏิบัติทางคลีนิคเพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยที่ได้รับการบริการสุขภาพ 4) แผนการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อแก่ผู้ป่วย 5) การบันทึกดูแลต่อเนื่องเพื่อควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วย และ 6) การพัฒนาคุณภาพการบริการ เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการพัฒนาระบบ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของทัศนคติและพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 และคะแนนเฉลี่ยของความรู้แตกต่างกันที่ .05
สรุป แนวปฏิบัติเพื่อควบคุมและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลที่พัฒนาขึ้น สามารถนำมาใช้เพื่อการวางแผนการพยาบาลผู้ป่วย ทั้งในระยะก่อนให้บริการสุขภาพด้วยการทำหัตถการ ระยะการทำหัตถการ และภายหลังทำหัตถการเสร็จสิ้น
คำสำคัญ : ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม, การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ