การประเมินผลกระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยใช้ CIPP Model Evaluation of the Strategic Health Administration Process in Suphanburi Province Using the CIPP Model / วลัยพร สิงห์จุ้ย*1 Walaiporn Singjuy
- November 25, 2024
- admin
- 0
การประเมินผลกระบวนการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดสุพรรณบุรีโดยใช้ CIPP Model
Evaluation of the Strategic Health Administration Process in Suphanburi Province Using the CIPP Model
Authors
วลัยพร สิงห์จุ้ย*1
Walaiporn Singjuy
(Received: 20 October 2024; Revised: 9 November 2024; Accepted: 19 November 2024)
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประเมินการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี และ (2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินงานตามการบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ จังหวัดสุพรรณบุรี ปี 2566 โดยใช้กรอบการประเมินแบบ CIPP (Context, Input, Process, Product) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 454 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s alpha) เท่ากับ 0.8 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Pearson’s correlation coefficient
ผลการวิจัย พบว่า (1) การบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรีในด้านบริบทมีความสอดคล้องกับนโยบายระดับชาติและความต้องการของประชาชน โดยการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องเป็นองค์ประกอบสำคัญ ด้านปัจจัยนำเข้าพบว่า ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดยังเป็นข้อจำกัดต่อการดำเนินงาน ด้านกระบวนการแสดงให้เห็นถึงการจัดการที่เป็นระบบและความเข้าใจในยุทธศาสตร์ของบุคลากรช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และด้านผลผลิตชี้ให้เห็นถึงการบรรลุผลลัพธ์ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพ แต่ยังมีบางประเด็นที่ควรปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายระยะยาวของจังหวัดสุพรรณบุรี (2) ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้คือการสร้างระบบติดตามและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์ให้ตอบสนองต่อความต้องการในระดับพื้นที่อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ตลอดจนแนวทางพัฒนามุ่งเน้นการเพิ่มการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียผ่านการสนทนาและแบบสอบถามออนไลน์ พร้อมทั้งพัฒนาการวิเคราะห์ SWOT โดยใช้ข้อมูลเชิงลึกและผู้เชี่ยวชาญ ปรับปรุงระบบข้อมูลให้ทันสมัยด้วยเทคโนโลยีแบบเรียลไทม์ เพิ่มศักยภาพบุคลากรด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และเพิ่มความถี่และคุณภาพของการทบทวนผลการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
คำสำคัญ : การประเมิน ระบบบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ CIPP model