การศึกษาอุบัติการณ์การบาดเจ็บของผู้ป่วย ที่เกิดจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสี สถาบันโรคทรวงอก The Study of The Patient Injury Incidence examined by Computer Tomogram with Contrast Media in Central Chest Institute of Thailand / นางสมบูรณ์ นิคมประศาสน์1 และ นางบุษบา อินกว่าง 2 Somboon Nikomprasart 1 and Busaba Inkwarg 2
- November 4, 2024
- admin
- 0
การศึกษาอุบัติการณ์การบาดเจ็บของผู้ป่วย ที่เกิดจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสี สถาบันโรคทรวงอก
The Study of The Patient Injury Incidence examined by Computer Tomogram with Contrast Media in Central Chest Institute of Thailand
Authors
นางสมบูรณ์ นิคมประศาสน์1 และ นางบุษบา อินกว่าง 2
Somboon Nikomprasart 1 and Busaba Inkwarg 2
(Received: 10 October 2024; Revised: 20 October 2024; Accepted: 30 October 2024)
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ และระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บของผู้ป่วยที่เกิดจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสี โดยเป็นการศึกษาย้อนหลังของการบาดเจ็บที่เกิดการรั่วไหลของสารทึบรังสีออกนอกเส้นเลือดจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสีภายในสถาบันโรคทรวงอก เดือนตุลาคม พ.ศ. 2559 – เดือนกันยายน พ.ศ. 2566 โดยการศึกษาจากเวชระเบียนผู้ป่วย จำนวน 387 ราย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลในการวิจัย ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลหัตถการ และข้อมูลการบาดเจ็บ นำมาตรวจหาความเที่ยงตรงตามเนื้อหา ได้ค่า IOC มีค่าเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยใช้จำนวนร้อยละของข้อมูลทั่วไป ได้แก่ อายุ เพศ น้ำหนัก ข้อมูลหัตถการ ได้แก่ ขนาดของเข็ม ตำแหน่งที่เปิดเข็ม ความยากในการเปิดเส้น ปริมาณสารทึบรังสี ชนิดของการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ความแรงที่ใช้ฉีดสารทึบรังสี ชนิดของสารทึบรังสีเป็นกลุ่มไม่แตกตัวการบาดเจ็บ แบ่งเป็น ไม่เกิด ระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 และระดับ 4
จากการศึกษา พบอุบัติการณ์การบาดเจ็บจำนวน 5 ราย (ร้อยละ 1.29) ระดับ 1, 2 และ 4 (ร้อยละ 0.26, 0.77 และ 0.26) ตามลำดับ การบาดเจ็บระดับ 1 และ ระดับ 2 รักษาโดยการประคบเย็น 24-48 ชั่วโมงแรกครั้งละ 15 นาที ทุก 4 ชั่วโมง ซึ่งการบาดเจ็บจะยุบลง และหายเป็นปกติภายใน 2 วัน ส่วนการบาดเจ็บระดับ 4 ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาล และปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมเพื่อเปิดผ่าตัด และทำแผลทุกวัน จนกว่าแผลจะหายเป็นปกติ ไม่พบความพิการแต่ต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้น และได้มีการประชุมปรึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ไข และลดอุบัติการณ์การเกิดการบาดเจ็บของผู้ป่วยที่เกิดจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสีเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อไป
ข้อเสนอแนะสามารถนำไปพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันภาวะสารทึบรังสีออกนอกเส้นเลือด
คำสำคัญ : การบาดเจ็บ, สารทึบรังสี, การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์