การพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง (STEMI) ที่ใส่เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (Extracorporeal membrane oxygenation: ECMO) Nursing Care for Patients with ST-Segment Elevation Myocardial Infarction (STEMI) Receiving Extracorporeal Membrane Oxygenation (ECMO) Support / ดาวเรือง เสาร์ชัย Dawruang Saochai
- October 13, 2024
- admin
- 0
การพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง (STEMI) ที่ใส่เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด (Extracorporeal membrane oxygenation: ECMO)
Nursing Care for Patients with ST-Segment Elevation Myocardial Infarction (STEMI) Receiving Extracorporeal Membrane Oxygenation (ECMO) Support
Authors
ดาวเรือง เสาร์ชัย
Dawruang Saochai
(Received: September 15 , 2024; Revised: September 24, 2024; Accepted: October 5, 2024)
บทคัดย่อ
บทนำ: ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง (STEMI) เป็นภาวะวิกฤตในระบบหัวใจและหลอดเลือด เกิดจากการปริแตกของรอยโรคที่หลอดเลือดโคโรนารีอย่างรุนแรงและมีลิ่มเลือดจำนวนมาก ทำให้หลอดเลือดอุดตันอย่างสมบูรณ์และถาวร และหากผู้ป่วยได้รับการรักษาล่าช้าส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง และเสียชีวิตได้ slot777
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง ที่ใส่เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด
รูปแบบการศึกษา: เป็นการวิเคราะห์และเปรียบเทียบกรณีศึกษากับหลักวิชาการและนำผลการศึกษาไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยรายอื่น
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยชายไทยวัย 60 ปี มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสินแพทย์ กรุงเทพมหานคร ได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ พบหลอดเลือดหัวใจตีบ 2 เส้นและมีภาวะหัวใจหยุดเต้น ต้องทำการฟื้นคืนชีพ 12 นาที ผู้ป่วยได้รับการใส่เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ และใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก จึงส่งต่อมารักษาที่สถาบันโรคทรวงอก จังหวัดนนทบุรี เพื่อรับการรักษาด้วยวิธีการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดค้ำยัน ระหว่างที่ผู้ป่วยอยู่ที่หอผู้ป่วยหนัก มีภาวะหัวใจห้องล่างเต้นผิดจังหวะชนิดรุนแรง อัตราการเต้นของหัวใจ 180-200 ครั้งต่อนาที สลับกับหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัว (Ventricular fibrillation: VF) อัตราการเต้นของหัวใจ 221 ครั้งต่อนาที ร่วมกับมีภาวะหัวใจห้องล่างซ้ายล้มเหลว จึงได้รับการใส่เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด ได้รับยาต้านหัวใจเต้นผิดจังหวะทางหลอดเลือดดำ ผลการรักษาคลื่นไฟฟ้าหัวใจกลับมาเต้นปกติ อัตราการเต้นของหัวใจ 88-90 ครั้งต่อนาที ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน และสามารถจำหน่ายกลับบ้านได้ในวันที่ 8 ธันวาคม 2565 mega4d
สรุป: การดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง ที่ได้รับการใส่เครื่องช่วยพยุงการทำงานของหัวใจและปอด พยาบาลจะต้องมีความเข้าใจถึงพยาธิสรีวิทยาของโรค และหลักการทำงานของเครื่องช่วงพยุงการทำงานของหัวใจและปอด จึงจะสามารถให้การพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ ลดภาวะแทรกซ้อน และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วโดยใช้ความรู้ ความสามารถ เพื่อให้ผู้ป่วยผ่านพ้นภาวะวิกฤตไปได้อย่างมีปลอดภัย และลดอัตราตายในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้ shiowla
คำสำคัญ : โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง, เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจและปอด, การพยาบาล