การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ Nursing care for diabetic with hyperglycemia with urinary tract infections
- August 21, 2024
- admin
- 0
การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
Nursing care for diabetic with hyperglycemia with urinary tract infections
Authors
นิรมล กิ่งไทร
Niramol Kingsai
(Received: July 20 , 2024; Revised: July 30, 2024; Accepted: August 14, 2024)
บทคัดย่อ
บทนำ: โรคเบาหวานเป็นภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูงเกินกว่าปกติ โดยเกิดจากการทำงานของฮอร์โมนอินซูลินที่สร้างจากตับอ่อน ส่วนเบต้าเซลล์ผิดปกติ ในระยะยาวถ้าปล่อยให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากๆเป็นเวลานาน จะส่งผลโดยตรงต่อหลอดเลือด เกิดภาวะอักเสบและอุดตันได้ง่ายกว่าคนปกติ นอกจากนี้ยังทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ส่งผลให้เกิดภาวะติดเชื้อต่างๆได้ง่าย เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงมากขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาล และการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
รูปแบบการศึกษา: เป็นการวิเคราะห์และเปรียบเทียบกรณีศึกษากับหลักวิชาการและนำผลการศึกษาไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยรายอื่น
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 65ปี มีประวัติเป็น DM, DLP,HT 20 ปี มาตรวจไม่ตรงตามนัดตั้งแต่
ปี พ.ศ. 2565 รับประทานยาไม่สม่ำเสมอ มาโรงพยาบาลด้วยอาการ ปวดท้องน้อยปัสสาวะแสบขัด มีไข้
เวียนศีรษะ มึนงง วัดอุณหภูมิ 38.9 องศาเซลเซียส เจาะเลือด DTX = 355 mg/dl ผล CBC: W.B.C. 15.05*10^3/ul, Neutrophils 84.2 %, ตรวจปัสสาวะพบ WBC 10 – 20 cell / H.P. Bacteria moderate แพทย์วินิจฉัยเป็น Hyperglycemia c with urinary tract infection จึงให้นอนโรงพยาบาลที่หอผู้ป่วย
อายุรกรรมหญิง เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาพยาบาลต่อเนื่องด้วยวิธีให้ยาปฏิชีวนะและยาปรับน้ำตาลในเลือด ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพแบบองค์รวม อาการดีขึ้นตามลำดับ สามารถคุมน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น และไม่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ไม่พบภาวะแทรกซ้อน รวมระยะเวลานอนรักษาในโรงพยาบาล 7 วัน
สรุปและการนำไปใช้: การดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงร่วมกับมีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะถือเป็นภาวะเร่งด่วน ที่ต้องได้รับการคัดกรองและคัดแยกประเภทผู้ป่วยอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจรักษาพยาบาลอย่างรวดเร็ว ไม่มีอาการทรุดลงขณะรอตรวจ หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน
ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ดังนั้นพยาบาลผู้ป่วยนอก ต้องมีความรู้ ประสบการณ์ และสามารถคัดกรองและคัดแยกประเภทผู้ป่วยนอก ประเมินอาการและอาการแสดง ซักประวัติอย่างละเอียด ให้การพยาบาลเบื้องต้นตั้งแต่ระยะก่อนตรวจ และจัดลำดับในการเข้าตรวจรักษาอย่างรวดเร็ว รวมถึงสังเกตอาการขณะตรวจ และหลังตรวจ ได้ถูกต้อง เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
คำสำคัญ : น้ำตาลในเลือดสูง, ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ