ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่คลอด โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช
- June 4, 2024
- admin
- 0
ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะโลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์ที่คลอด
โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้า ตากสินมหาราช
The Prevalence and Associate factors of anemia in mothers delivered In King Taksin hospital
Authors
นวลฉวี แสงพราย*
Nuanchawee Saengpray*
อุทัยวรรณ หมีไพรพฤกษ์*
Uthaiwan Meepripruk*
ภัททิยา หมายมั่น*
Phatthiya Maiman*
Corresponding
สุฑารัตน์ ชูรส**
Corresponding Author Sutharat Churos, M.N.S.**
E- mail sutharat@bcnchainat.ac.th
(Received: April 28, 2024; Revised: May 16, 2024; Accepted: May 21, 2024)
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางในหญิงที่มาคลอด ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาศึกษาย้อนหลังในหญิงที่มาคลอดโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 1,391คน โดยกลุ่มศึกษาคือหญิงที่มีภาวะโลหิตจางเมื่อคลอด (ค่าความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงน้อยกว่า 33 %) จำนวน 246 คน กลุ่มควบคุมคือหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีภาวะโลหิตจาง (ค่าความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงตั้งแต่ 33 % ขึ้นไป) จำนวน 1,145 คน เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน สมุดอนามัยแม่และเด็กของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์และคลอด และแบบบันทึกการคลอด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายลักษณะกลุ่มตัวอย่างและศึกษาความชุก ใช้สถิติ Chi square test และการหาค่าสัมประสิทธิ์การณ์จรของคราเมอร์ (Crammer’s contingency coefficient) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโลหิตจางกับปัจจัยต่างๆ กำหนดระดับนัยสำคัญที่ p< 0.05
ผลการศึกษา: พบว่าหญิงที่มาคลอด ณ โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีความชุกของภาวะโลหิตจางเท่ากับร้อยละ 17.68 ปัจจัยอายุครรภ์เมื่อฝากครรภ์ครั้งแรกมีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางเมื่อคลอดในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<.05 (Crammer V= .356) ส่วนดัชนีมวลกายก่อนคลอด จำนวนครั้งการฝากครรภ์และประวัติการคลอดมีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางเมื่อคลอดในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001, 0.05 และ 0.05 ตามลำดับ) (Crammer V= .133, .165 และ .103 ตามลำดับ)
สรุป: ข้อมูลจากการศึกษาจะเป็นแนวทางให้หน่วยงานในระดับนโยบายและหน่วยบริการในพื้นที่นำไปใช้ในการกำหนดแนวทางการให้บริการหญิงตั้งครรภ์ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่จังหวัดตาก ตรงกับกลุ่มเป้าหมายทั้งในด้านการเฝ้าระวังความเสี่ยง แก้ไขภาวะโลหิตจางเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อทารกและหญิงตั้งครรภ์เมื่อเข้าสู่ระยะคลอดและหลังคลอด ต่อไป
คำสำคัญ : ภาวะโลหิตจาง, หญิงตั้งครรภ์, ความชุก, ปัจจัยเสี่ยง