การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤติ
- April 13, 2024
- admin
- 0
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤติ
Nursing care for patients with acute myocardial ischemia combined with hypertensive crisis
Authors
สุธาสินี รอดไพรี*
Suthasinee rodphairee*
(Received: February 28, 2024; Revised: March 22, 2024; Accepted: March 29, 2024)
บทคัดย่อ
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด ST-segment elevation myocardial infarction (STEMI) เป็นภาวะที่หลอดเลือดหัวใจมีการอุดตันแบบสมบูรณ์ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่รับเลือดอยู่เกิดการขาดเลือดแบบเฉียบพลันซึ่งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้น และภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ
ที่สามารถเกิดขึ้นได้คือความดันโลหิตสูงวิกฤติ ผู้ป่วยจะมีอัตราการเสียชีวิตสูงแม้จะได้รับการรักษาทันท่วงทีการดูแลผู้ป่วย STEMI ณ ห้องฉุกเฉินจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยต้องได้รับการประเมินอาการ
การประสานส่งต่อข้อมูลที่สำคัญของผู้ป่วยให้ทีมแพทย์ที่เกี่ยวข้อง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลค่ายบางระจัน จำนวน 1 ราย ในวันที่ 24-29 พฤศจิกายน 2566 จากแบบบันทึกข้อมูล เวชระเบียนผู้ป่วย
การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและญาติ การโทรเยี่ยมติดตามอาการ
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยหญิงชาวไทย อายุ 48 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการ ปวดศีรษะ ใจสั่น
แสบร้อนกลางอก 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาลปฏิเสธโรคประจำตัว ผลการตรวจวัดสัญญาณชีพและตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจแพทย์วินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูงวิกฤติปรึกษาอายุรแพทย์โรงพยาบาลสิงห์บุรี ได้รับการรักษาโดยการให้ยาลดความดันโลหิต Nitroglycerin (1:5) ทางหลอดเลือดดำ อัตราไหล 3 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง และให้ยาละลายลิ่มเลือด Streptokynase 1.5 ล้านยูนิต
ทางหลอดเลือดดำภายใน 1 ชั่วโมง และส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลสิงห์บุรี ด้วยระบบ Fast track หลังให้ยาละลายลิ่มเลือดครบ 30 นาที พบว่า ST -elevate ลดลงมากกว่า 50% อาการเจ็บหน้าอก
pain score จาก 8/10 เหลือ 0/10 หลังให้ยาครบ 6 ชั่วโมง ส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลแม่ข่ายเพื่อทำ PCI
สรุปผลจากการศึกษาพยาบาลห้องฉุกเฉินมีบทบาทสำคัญในการประเมินคัดกรอง การวินิจฉัย ผู้ป่วยอย่างถูกต้องรวดเร็ว ทันทีที่มาถึงโรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดอย่างรวดเร็ว พยาบาลต้องมีความรู้ในเรื่องการประเมินอาการทางคลินิก การอ่านแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ การบริหารยา การพยาบาล และเฝ้าระวังความเสี่ยงเพื่อช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆที่อาจเกิดขึ้นและระบบส่งต่อไปโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า อย่างมีประสิทธิภาพ
คำสำคัญ : ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน , ความดันโลหิตสูงวิกฤติ , ยาละลายลิ่มเลือด