การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสันหลังหักส่วนคอร่วมกับมีภาวะไขสันหลังสูญเสียการทำงานชั่วคราว : กรณีศึกษา
- March 8, 2024
- admin
- 0
การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสันหลังหักส่วนคอร่วมกับมีภาวะไขสันหลังสูญเสียการทำงานชั่วคราว : กรณีศึกษา
Authors
อำนวย รอดหลำ
Amnouy Rodlum
(Received: January 26, 2024; Revised: February 16, 2024; Accepted: February 28, 2024)
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการให้การพยาบาลผู้ป่วยกระดูกสันหลังหักส่วนคอ ร่วมกับมีภาวะไขสันหลังสูญเสียการทำงานชั่วคราว
ผลการศึกษา : กรณีศึกษาผู้ป่วยชายไทยอายุ 55 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม2566 ด้วยอาการปวดต้นคอ ชาแขน 2 ข้าง ขาอ่อนแรง เดินไม่ได้ 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล จากอุบัติเหตุขับรถกระบะตกข้างทาง ไม่สลบ แพทย์ตรวจ CT Scan of C-Spine วินิจฉัย Fracture right transverse process of C2 and bilateral lamina of C2แรกรับในหอผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลัง ตรวจร่างกายพบแขน 2 ข้าง Motor Power grade 3 ขา 2 ข้าง Motor Power grade 4 และมีอาการแสดงของภาวะไขสันหลังสูญเสียการทำงานชั่วคราว แพทย์ให้การรักษาโดยการทำ Skull traction 5 กก. และให้ยา Methylprednisolone bolus dose ( 30 มก./กก.in NSS 100 มล.15 นาที ) 2,460 มก.ใน NSS 100 มล.IV in 15 นาที พัก 45 นาที แล้วให้ Methylprednisolone maintenance dose ( 5.4มก./กก./ชม.) 440 มก./ชั่วโมง ใน 23 ชั่วโมง ผู้ป่วยปฏิเสธโรคประจำตัว สูบบุหรี่เป็นประจำ หลัง On Skull traction 5 กก. พบมีภาวะ Delirium ร่วมด้วย ได้รับการดูแลโดยจิตแพทย์ร่วมด้วย เมื่อครบ 5 วัน แพทย์ประเมินซ้ำโดยการส่ง Film C-Spine AP-lateral พบ alignment of C-spine stable พิจารณาลดน้ำหนัก Skull traction เหลือ 2 กก. ตรวจร่างกายแขน 2 ข้าง Motor Power grade 4 ขา 2 ข้าง Motor Power grade 4 คงเดิม ระหว่าง on Skull traction ไม่พบภาวะแทรกซ้อน และได้รับการดูแลจากนักกิจกรรมบำบัด และนักกายภาพบำบัดร่วมด้วย ผู้ป่วยได้รับการวางแผนจำหน่าย เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนเมื่อกลับไปอยู่บ้าน ผู้ป่วยและญาติมีความพร้อมในการดูแลตนเอง จึงจำหน่ายกลับบ้านในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2566 รวมระยะเวลาอยู่ในโรงพยาบาลนาน 11วัน
คำสำคัญ : กระดูกสันหลังหักส่วนคอ , ภาวะไขสันหลังสูญเสียการทำงานชั่วคราว.