การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่ได้รับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้งหมดร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ
- January 10, 2024
- admin
- 0
การพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่ได้รับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้งหมดร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ
Nursing Care of Thyroid Cancer Patients with Total Thyroidectomy and Radical Neck Dissection
Authors
วัชราภรณ์ สุวรรณไตรย์*
Watcharaphon Suwannatrai
(Received: December 18, 2023; Revised: December 28, 2023; Accepted: January 4, 2024)
บทคัดย่อ
ความสำคัญของปัญหา มะเร็งต่อมไทรอยด์เป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดในมะเร็งต่อมไร้ท่อและมีการลุกลามที่รุนแรงเข้าไปในเส้นเลือด ต่อมน้ำเหลือง ปอด และกระดูกได้ ซึ่งการได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดจะเป็นผลดีช่วยให้ผู้ป่วยสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ แต่การผ่าตัดก็มีความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นได้
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลและการดูแลผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่ได้รับการผ่าตัดเอาต่อมไทรอยด์ออกทั้งหมดร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ
วิธีการศึกษา เป็นการวิเคราะห์กรณีศึกษากับหลักวิชาการ และนำผลการศึกษาไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย
ผลการศึกษา ผู้ป่วยชายไทยอายุ 67 ปีมาโรงพยาบาลด้วยอาการ 3 เดือนก่อนมาผู้ป่วยมีก้อนที่คอด้านขวาโตขึ้น แพทย์ทำ Fine Needle Aspiration ผลการตรวจปกติ ผู้ป่วยมาตรวจตามนัดต่อเนื่องมีอาการแน่นในคอ หายใจปกติ ไม่มีกลืนลำบาก แพทย์นัดทำผ่าตัด Fiber Optic Laryngoscopy with Right Lobectomy และนำชิ้นเนื้อส่งตรวจ ผลการตรวจพบเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ แพทย์จึงนัดทำผ่าตัดTotal Thyroidectomy and Radical Neck Dissection ปัญหาการพยาบาลที่พบในผู้ป่วยรายนี้ คือในระยะก่อนผ่าตัดผู้ป่วยวิตกกังวลเนื่องจากขาดความรู้ ระยะผ่าตัดมีความยุ่งยากซับซ้อนเนื่องจากต้องเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอออกทั้งหมด เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง การเสียเลือดขณะผ่าตัด ระยะหลังผ่าตัดเสี่ยงต่อการอุดกั้นของทางเดินหายใจจากการบวมของเนื้อเยื่อ เลือดออกใต้ผิวหนังบริเวณผ่าตัด ภาวะอุณหภูมิร่างกายต่ำจากการผ่าตัดใช้เวลานาน ภาวะแคลเซี่ยมในเลือดต่ำจากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้งหมด ภาวะท่อน้ำเหลืองที่คอรั่ว และภาวะแผลติดเชื้อ พยาบาลใช้กระบวนการพยาบาลในการประเมินภาวะสุขภาพผู้ป่วย วินิจฉัย วางแผน ปฏิบัติการพยาบาลและประเมินผล ผู้ป่วยปลอดภัย ได้รับการฟื้นฟูและจำหน่ายกลับบ้านได้รวมระยะเวลานอนโรงพยาบาลทั้งหมด 5 วัน
สรุปผล: การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกทั้งหมดร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอมีความยุ่งยากซับซ้อน พยาบาลห้องผ่าตัดจึงมีบทบาทสำคัญในการวางแผนการพยาบาลตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัดและระยะหลังผ่าตัดเพื่อผลการผ่าตัดมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยปลอดภัยและไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
คำสำคัญ : การพยาบาล, โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์,การผ่าตัดต่อมไทรอยด์