การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ร่วมกับมีภาวะโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3: กรณีศึกษา
- December 23, 2023
- admin
- 0
การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ร่วมกับมีภาวะโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3: กรณีศึกษา
Nursing care of type 2 diabetic patient uncontrolled Blood sugar level with Chronic Kidney Disease stage 3 : Case Study.
Authors
รัตนา กาวชู
Rattana Khowchu
(Received: November 10, 2023; Revised: November 25, 2023; Accepted: December 14, 2023)
บทนำและวิธีการศึกษา
ภาวะแทรกซ้อนทางไตจากเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่สำคัญของผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบได้ประมาณร้อยละ 30-50 ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน นอกจากนี้โรคไตวายเรื้อรังจากเบาหวานยังเป็นสาเหตุอันดับหนึ่งของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย คือ พบประมาณร้อยละ 30.1 ของผู้ป่วยที่ได้รับการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษา กรณีศึกษาผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ร่วมกับมีภาวะแทรกซ้อนทางไต ที่มาพบแพทย์ตามนัดที่คลินิกโรคเรื้อรังใน รพ.สต.โรงช้าง พบระดับน้ำตาลในเลือดสูง แพทย์ส่งมารับการรักษาต่อเนื่องที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลพรหมบุรี ทำการศึกษาประวัติผู้ป่วยจากการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบ ตามแบบแผนสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอนนำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยและแก้ไขปัญหาของผู้ป่วยให้ตรงตามปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงมีการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่แผนกผู้ป่วยในจนผู้ป่วยกลับบ้าน และส่งต่อรพ.สต.เพื่อดูแลต่อเนื่องที่บ้าน
ผลการศึกษา ผู้ป่วยกรณีศึกษา ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 71 ปี มาพบแพทย์ตามนัดที่ รพ.สต.โรงช้าง ในวันที่ 27 ต.ค.2566 มีอาการ อ่อนเพลีย เหนื่อย
วิธีการศึกษา ศึกษาย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมที่มีปอดอักเสบจากการสำลักและการหายใจล้มเหลวเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยพิเศษ จำนวน 1 รายโดยใช้กระบวนการพยาบาลและแนวทางการวางแผนการจำหน่ายผู้ป่วยเป็นแนวทางสำคัญในการศึกษา
ผลการศึกษา ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 87 ปี มีโรคประจำตัวเป็นโรคสมองเสื่อม ความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ถูกนำส่งโรงพยาบาลด้วยปัสสาวะออกน้อย มีไข้ ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ระหว่างการรักษาผู้ป่วยเกิดปอดอักเสบจากการสำลักร่วมกับมีภาวะการหายใจล้มเหลว ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจและใช้เครื่องช่วยหายใจ แต่มีปัญหาไม่สามารถถอดท่อช่วยหายใจออกได้ จึงได้รับการเจาะคอและคาท่อเจาะคอกลับบ้าน รวมอยู่โรงพยาบาล 32 วัน
บทสรุป ผู้ป่วยสูงอายุที่มีโรคความจำเสื่อม มีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายเนื่องจากความสามารถในการดูแลตนเองลดลง โดยเฉพาะปอดอักเสบจากการสำลัก พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยจึงต้องมีความรู้และความเข้าใจถึงพยาธิสภาพของโรค แนวทางการดูแลรักษา ภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น ร่วมกับทักษะการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยมีชีวิตรอด ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน รวมทั้งต้องมีศักยภาพในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยให้เฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วยแต่ละรายเวียนศีรษะมึนงง พบ FBS 310 mg/dl ภาวะไตเสื่อมระดับ 3a เพิ่มเป็น 3b เป็นโรคเบาหวาน 17 ปี มีโรคร่วมคือความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูง ผู้ป่วยรับการรักษาที่คลินิกโรคเรื้อรัง ใน รพสต.โรงช้าง 5 ปีก่อนผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าร่วมด้วย แพทย์จากรพสต.ส่งผู้ป่วยเข้ารับการรักษาที่คลินิกเบาหวานในรพ. แพทย์วินิจฉัย Hyperglycemia with CKD ให้ admitในวันที่ 27 ต.ค..2566 และจำหน่ายในวันที่ 30 ต.ค.2566 รวมระยะเวลาที่อยู่ในความดูแล 3 วัน
การสรุปผลและการนำไปใช้
จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงกระบวนการการพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ร่วมกับมีภาวะโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 พยาบาลจึงต้องมีการบูรณาการทั้งด้านความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ และโรคไตระยะที่ 3 นำกระบวนการพยาบาลมาใช้ในการตัดสินใจและแก้ปัญหาของผู้ป่วยที่มีความยุ่งยากซับซ้อน ส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้หลังจำหน่ายเพื่อป้องกันการเป็นซ้ำ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
คำสำคัญ : การพยาบาล, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ร่วมกับมีภาวะโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3, กรณีศึกษา