แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านโคกใหญ่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร/ พัชรีภรณ์ พูลทวี Patchareeporn Poonthawee
- July 18, 2025
- admin
- 0
แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านโคกใหญ่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร
Guidelines for Enhancing the Quality of Life of the Elderly in the Area Under the Responsibility of the Health Promoting Hospital, Ban Khok Yai Subdistrict, Leung Nok Tha District, Yasothon Province.
Authors
พัชรีภรณ์ พูลทวี
Patchareeporn Poonthawee
(Received: 25 June 2025; Revised: 9 July 2025, 2025; Accepted: 12 July 2025)
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ศึกษาและพัฒนาแนวทางการยกระดับคุณภาพชีวิต และประเมินผลการดำเนินงานในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกใหญ่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน 2568 โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติ (Action Research) การตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกต และการสะท้อนผล กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาประกอบด้วยผู้สูงอายุจำนวน 324 คนและภาคีเครือข่าย 55 คน กิจกรรมที่ดำเนินการประกอบด้วย การให้ความรู้ การฝึกทักษะการใช้เทคโนโลยี การเขียนเรื่องเล่า การทำกิจกรรมสำหรับครอบครัว และการปรับปรุงสภาพแวดล้อมร่วมกัน
ผลการศึกษาพบว่า ก่อนดำเนินการ พบว่า ระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ทุกมิติ หลังดำเนินการ ระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมดีขึ้น (ดีร้อยละ 33.4 ปานกลางร้อยละ 65.4 และไม่ดีร้อยละ 1.2) โดยมิติสิ่งแวดล้อมดีที่สุดร้อยละ 52.5 ส่วนมิติความสัมพันธ์ทางสังคม มิติสุขภาพกาย และจิตใจเพิ่มขึ้นร้อยละ 75.6, 73.2, และ 69.8 ตามลำดับแต่ยังคงอยู่ระดับปานกลาง แนวทางการยกระดับคุณภาพชีวิตประกอบด้วย กิจกรรมส่งเสริมความสุข 5 มิติ การป้องกันหกล้มและกองทุนกายอุปกรณ์ การฝึกใช้เทคโนโลยีและการเขียนบันทึกเพื่อกระตุ้นสมอง ปรับสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อผู้สูงอายุและยกย่อง ให้คุณค่าผู้สูงอายุผ่านงานประเพณีท้องถิ่น ผลการประเมินแนวทาง พบว่า ผู้สูงอายุมีความภาคภูมิใจในตนเองและการมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง คณะทำงานชุมชน-ท้องถิ่นเห็นว่าแนวทางปฏิบัติได้จริง ติดตามได้ และสามารถขยายผลสู่ครอบครัวอื่นได้ ภาคีเครือข่าย 55 คนที่ร่วมพัฒนารูปแบบรายงานความพึงพอใจในระดับมาก (= 4.52 SD=0.13 ) ในด้านประโยชน์และความเหมาะสมของกิจกรรม
ข้อเสนอแนะ งานวิจัยนี้ใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาแนวทางยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในพื้นที่อื่นที่มีบริบทคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะการบูรณาการกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพกับกลไกชุมชนอย่างมีส่วนร่วม ภาครัฐและท้องถิ่นควรสนับสนุนการขยายผลในเชิงนโยบายและงบประมาณเพื่อความยั่งยืนของการดำเนินงานในระยะยาว
Keywords : คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ การมีส่วนร่วมของชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล