การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจเอสทียกสูง ร่วมกับมีภาวะช็อกจากโรคหัวใจ / วราภรณ์ ประจันบาล Waraporn Prajunban
- May 16, 2025
- admin
- 0
การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดคลื่นไฟฟ้าหัวใจเอสทียกสูง ร่วมกับมีภาวะช็อกจากโรคหัวใจ
Nursing Care for patient with ST-segment elevation myocardial infraction (STEMI) with Cardiogenic shock
Authors
วราภรณ์ ประจันบาล
Waraporn Prajunban
Received: 29 March 2025; Revised: 26 April 2025, 2025; Accepted: 10 May 2025)
Abstract
บทคัดย่อ
บทนำ: ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction: AMI) ยังคงเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประชากรทั่วโลก โดยภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่สุดคือ ภาวะช็อกจากหัวใจ (Cardiogenic Shock) ซึ่งเกิดจากการที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้อวัยวะหลายระบบล้มเหลวและเกิดอัตราการเสียชีวิตสูง การมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพยาธิสรีรวิทยา อาการและอาการแสดง เกณฑ์การวินิจฉัย และการพยาบาลที่เหมาะสม จึงเป็นสิ่งสำคัญในการให้การดูแลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ
รูปแบบการศึกษา: เป็นการวิเคราะห์และเปรียบเทียบกรณีศึกษากับหลักวิชาการและนำผลการศึกษาไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยรายอื่น
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 69 ปี มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง ร่วมกับมีภาวะช็อกจากโรคหัวใจ เข้ารับการรักษาที่สถาบันโรคทรวงอก ได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ พบหลอดเลือดหัวใจตีบ 3 เส้น ได้รับการรักษาโดยการใส่ท่อช่วยหายใจ ได้รับยาต้านเกร็ดเลือด ยาเพิ่มความดันโลหิต และทำหัตถการถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจและใส่ขดลวดค้ำยัน 2 เส้น ผลการทำหัตถการประสบความสำเร็จดี ผู้ป่วยได้รับการดูแลในหอผู้ป่วยหนัก และย้ายไปหอผู้ป่วยสามัญ สามารถจำหน่ายกลับบ้านได้ในวันที่ 27 ธันวาคม 2566
สรุป: การดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง ร่วมกับมีภาวะช็อกจากโรคหัวใจ พยาบาลจะต้องมีความเข้าใจถึงพยาธิสรีวิทยาของโรค และให้การพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง เหมาะสม สามารถลดการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้ผู้ป่วยผ่านพ้นภาวะวิกฤตไปได้อย่างมีปลอดภัย และลดอัตราตายในผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันได้
Keywords : กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดเอสทียกสูง, ภาวะช็อกจากโรคหัวใจ, การพยาบาล