การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี Development of an Elderly Healthcare Model through Community Participation in Mueang Sam Sip District, Ubon Ratchathani Province / วีรศักดิ์ สุขเลิศ*1 Weerasak Suklert
- January 29, 2025
- admin
- 0
การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยชุมชนมีส่วนร่วม อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี
Development of an Elderly Healthcare Model through Community Participation in Mueang Sam Sip District, Ubon Ratchathani Province
Authors
วีรศักดิ์ สุขเลิศ*1 Weerasak Suklert *1
(Received: 28 December 2024; Revised: 15 January 2025; Accepted: 25 January 2025)
บทคัดย่อ
การวิจัยน้ีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพ่ือศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของ ผู้สูงอายุในอําเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี (2) เพ่ือพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีการมีส่วนร่วมของ ชุมชน และ (3) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้สูงอายุจํานวน 346 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามท่ีมีค่าความเชื่อมั่น (Cronbach’s alpha) เท่ากับ 0.87 โดย ใช้กระบวนการ Focus Group และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน Content analysis และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Chi-Square
ผลการวิจัย พบว่า (1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ได้แก่ ปัจจัยส่วน บุคคล ปัจจัยเอ้ือ และปัจจัยเสริม โดยปัจจัยส่วนบุคคล เช่น สถานภาพและรายได้จากบุตรหลาน มีผลต่อการดูแลสุขภาพ ในด้านต่าง ๆ ปัจจัยเอื้อ เช่น สิ่งแวดล้อมและการเข้าร่วมชมรมผู้สูงอายุ ส่งผลต่อพฤติกรรมสุขภาพโดยรวม ส่วนปัจจัย เสริม เช่น การรับรู้ข้อมูลสุขภาพ มีผลต่อการบริโภคอาหาร การจัดการความเครียด และอนามัยส่ิงแวดล้อม ขณะที่ปัจจัย ด้านเพศและระดับการศึกษาไม่พบความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ (2) พัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมี ส่วนร่วมของชุมชนในอําเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นการดําเนินการอย่างเป็นระบบและครอบคลุมทุกมติ ิ ของการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ โดยมีการกําหนดแนวทางและกิจกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน (3) คุณภาพชีวิต โดยรวม ก่อนการใช้รูปแบบ พบว่าผู้สูงอายุที่มีคุณภาพชีวิตโดยรวมไม่ดีมีจํานวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 6.6 ลดลงเหลือ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 1.3 หลังการใช้รูปแบบ ขณะที่ผู้ที่มีคุณภาพชีวิตดีเพิ่มข้ึนจาก 21 คน คิดเป็นร้อยละ 13.8 เป็น 46 คน คิดเป็นร้อยละ 30.3 ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารูปแบบท่ีพัฒนาข้ึนสามารถช่วยให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตท่ีดีขึ้นโดยรวม ครอบคลุม ทั้งด้านสุขภาพกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ควรผลักดันรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่พัฒนาขึ้นเข้าสู่นโยบาย ท้องถ่ิน พร้อมสนับสนุนการบูรณาการความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อสร้างความยั่งยืน และติดตามผลการดําเนินงาน อย่างต่อเน่ืองเพ่ือการปรับปรุงที่เหมาะสมกับบริบทชุมชนในอนาคต
คำสำคัญ : การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ, การมีส่วนร่วม, คุณภาพชีวิต, พฤติกรรมสุขภาพ