ราชมงคลสุวรรณภูมิ ผนึกกำลัง สทน. กฟผ. และพันธมิตร ร่วมพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานใหม่ ดันไทยสู่ศูนย์กลางเทคโนโลยีพลาสมาและนิวเคลียร์ฟิวชันอาเซียน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (RMUTSB) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประมุข อุณหเลขกะ อธิการบดี มอบหมายให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เจษฎา จันทร์ผา คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ “The 10th ASEAN School on Plasma and Nuclear Fusion and SOKENDAI Asian School (ASPNF2025)” ระหว่างวันที่ 13-17 มกราคม 2568 ณ ห้องประชุมสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ชั้น 3 อาคารบูรณมงคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
เมื่อวันจันทร์ที่ 13 มกราคม 2568 ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม นายกสภามหาวิทยาลัยฯ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นายสัตวแพทย์ สถิตย์ อรุณแสง รองอธิการบดี ดร.สัมพันธ์ สุกใส คณบดีคณะศิลปศาสตร์ นักศึกษา บุคลากร และผู้เข้าร่วมงานทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศ
การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นด้วยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับ สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทน.) ภายใต้กระทรวง อว. พร้อมด้วยหน่วยงานพันธมิตรทั้งในและต่างประเทศ เช่น International Thermonuclear Experimental Reactor (ITER) ประเทศฝรั่งเศส, IAEA ประเทศออสเตรีย, NIFS ประเทศญี่ปุ่น และเครือข่ายวิจัยในประเทศ
ในงานยังมีการบรรยายพิเศษโดย Prof. Motoshi GOTO จาก NIFS ประเทศญี่ปุ่น หัวข้อ “Recent Advancement and Breakthrough on Fusion by National Institute of Fusion Science” โดยมีผู้เข้าร่วมจากประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
การประชุมนี้มุ่งเน้นการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีพลาสมาและนิวเคลียร์ฟิวชัน เพื่อเตรียมความพร้อมสู่การเป็นศูนย์กลางความร่วมมือระดับภูมิภาคด้านพลังงานสะอาด และส่งเสริมบทบาทของไทยในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีพลังงานในอนาคต
รูปภาพเพิ่มเติม : https://photos.app.goo.gl/V5qUiTHM8rRWMekx9
ภาพ/จัดทำ: หัตถ์เทพ งานสื่อสารองค์กรและกิจการระหว่างประเทศ
#ราชมงคลสุวรรณภูมิ #เทคโนโลยีพลาสมา #นิวเคลียร์ฟิวชัน #ASPNF2025 #พลังงานสะอาด #พลังงานแห่งอนาคต #การประชุมนานาชาติ #ไทยสู่ศูนย์กลางอาเซียน #นวัตกรรมพลังงาน #พลาสมาและฟิวชัน #ความร่วมมือระหว่างประเทศ #พลังงานทางเลือก #การพัฒนาที่ยั่งยืน #วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี #RMUTSB #สทน #กฟผ #IAEA #NIFS #ITER