อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการใจสั่นและได้รับการตรวจด้วยเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง สถาบันโรคทรวงอก / รัญจวน สวัสดิ์กิจ* นวรัตน์ สุทธิพงศ์**1 วีระญา ไชยศร**2 และ อธิชา ศรไว**3
- November 4, 2024
- admin
- 0
อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยที่มาด้วยอาการใจสั่นและได้รับการตรวจด้วยเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง สถาบันโรคทรวงอก
Authors
รัญจวน สวัสดิ์กิจ* นวรัตน์ สุทธิพงศ์**1 วีระญา ไชยศร**2 และ อธิชา ศรไว**3
(Received: 10 October 2024; Revised: 20 October 2024; Accepted: 30 October 2024)
บทคัดย่อ
บทนำและวิธีการศึกษา: ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากการกระตุ้นของกระแสไฟฟ้าหัวใจที่ผิดปกติ เป็นผลทำให้มีอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติของอัตรา หรือ จังหวะ ผู้ป่วยจะมีอาการใจสั่น แน่น หน้าจะมืด วูบหมดสติ หัวใจวายหยุดเต้นได้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะในผู้ป่วยที่มารักษาด้วยอาการใจสั่นและได้รับการตรวจด้วยเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้ป่วยที่มารักษาด้วยอาการใจสั่นและได้รับการตรวจด้วยเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง สถาบันโรคทรวงอก เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2566 จำนวน 306 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคลและประวัติการเจ็บป่วย ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลตรวจเอ็กซเรย์ และคลื่นไฟฟ้าหัวใจ นำมาตรวจสอบหาความเที่ยงตรงด้านเนื้อหา ได้ค่า IOC อยู่ ระหว่าง 0.67 – 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน chi-square
ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่า อุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ 59.5% และพบว่าโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ และภาวะหัวใจโตมีความสัมพันธ์กับเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .05) ส่วนปัจจัยด้านเพศ อายุ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานจังหวะ ไขมันในเลือดสูง โรคหลอดเลือดสมอง ไทรอยด์ และอัตราการกรองของไตไม่สัมพันธ์กับเกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
สรุปผลและการนำไปใช้: ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะให้นำไปพัฒนาแนวทางปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่มีความเสี่ยงสูง และควรมีการติดตาม เฝ้าระวังการเกิดความรุนแรงถึงแก่ชีวิต
คำสำคัญ : อุบัติการณ์, ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ, เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ 24 ชั่วโมง