ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ของชุมชนเขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรี Factors related to self-care behavior of elderly people with diabetes in the Sing Buri Municipality community / จุฑารัตน์ วีระพงษ์ Chutharat weerapong
- October 16, 2024
- admin
- 0
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน
ของชุมชนเขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรี
Factors related to self-care behavior of elderly people with diabetes in the Sing Buri Municipality community.
Authors
จุฑารัตน์ วีระพงษ์
Chutharat weerapong
(Received: September 04, 2024; Revised: September 25, 2024; Accepted: October 12, 2024)
บทคัดย่อ
ผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ การสนับสนุนให้ผู้ป่วยเบาหวานมีแรงจูงใจในการเห็นคุณประโยชน์ของการดูแลอย่างแท้จริงส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานประสบความสำเร็จในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้
เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยการรับรู้ของผู้ป่วยเบาหวาน การสนับสนุนทางสังคม ระยะเวลาการเจ็บป่วยและพฤติกรรมการดูแลตนเองและศึกษาปัจจัยการรับรู้ของผู้ป่วยเบาหวาน การสนับสนุนทางสังคม ระยะเวลาการเจ็บป่วยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานของชุมชนเขตเทศบาลเมืองสิงห์บุรี โดยใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อทางด้านสุขภาพเป็นกรอบในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานในเขตชุมชนเมือง อำเภอเมืองสิงห์บุรีที่เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกในช่วงเวลาเดือนกันยายน ถึง เดือนเมษายน 2567
การกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง จากโปรแกรมสำเร็จรูป G*power version 3.1 ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 119 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามการรับรู้ของผู้ป่วยเบาหวานและพฤติกรรมการดูแลตนเอง
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาในการศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลและการรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเอง และใช้การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ด้วยวิธีแบบขั้นตอน (Stepwise)
ในการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง
ผลการศึกษา
พบว่าพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานอยู่ในระดับมาก (M=3.83,SD=0.59) การรับรู้
ของผู้ป่วยเบาหวานทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีการรับรู้มีค่าคะแนนสูงที่สุดคือการรับรู้ความรุนแรง
ของโรค (M=3.30,SD=0.93) และการรับรู้ประโยชน์ที่จะได้รับ (M=3.30,SD=0.93) การสนับสนุน
ทางสังคม อยู่ในระดับปานกลาง (M=3.46,SD=0.72) ระยะเวลาการเจ็บป่วยเฉลี่ย 14.24 ปี ตัวแปร
ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่ทดสอบแลววามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ.05 (R2=.805) ทั้งหมด 4 ตัวแปร คือการสนับสนุนทางสังคม ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองมากที่สุด
(β =.755) รองลงมาด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน (β =.441) การรับรู้อุปสรรค
(β =.441) การรับรู้ความรุนแรงของโรค (β =.441)
สรุปปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองบุคลากรสามารถนำปัจจัยดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยต่อไปได้
คำสำคัญ : พฤติกรรมการดูแลตนเอง ผู้สูงอายุ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์