ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว Factors Influencing Sleep Quality in Patient wtih Atrial Fibrillation / นางนฤนาท ไชยจำ* และ นางสาวทัศนีย์ ชลนากิจกุล**1 นายคมสิงห์ เมธาวีกุล,นพ**2 Narunat Chailum, RN* Tassanee Chollanakijkul, RN**1 Komsing Methavigul, MD**2
- October 14, 2024
- admin
- 0
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว
Factors Influencing Sleep Quality in Patient wtih Atrial Fibrillation
Authors
นางนฤนาท ไชยจำ* และ นางสาวทัศนีย์ ชลนากิจกุล**1 นายคมสิงห์ เมธาวีกุล,นพ**2
Narunat Chailum, RN* Tassanee Chollanakijkul, RN**1 Komsing Methavigul, MD**2
(Received: September 15 , 2024; Revised: September 24, 2024; Accepted: October 5, 2024)
บทคัดย่อ
บทนำและวิธีการศึกษา: ภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว (Atrial Fibrillation: AF) เป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอื่น ๆ ภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้วนี้สามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก โดยเฉพาะในด้านของการนอนหลับการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการนอนหลับ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษานี้ประกอบด้วยผู้ป่วยจำนวน 141 ราย ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว ที่เข้ารับการรักษาในสถาบันโรคทรวงอกในเดือนกรกฎาคม 2567 ถึง เดือน ตุลาคม 2567 โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับของเวอร์แรนและสไนเดอร์ แบบประเมินอาการและภาระของอาการในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว แบบสอบถามการรับรู้การเจ็บป่วย แบบประเมินความไว้วางใจในทีมสุขภาพ ซึ่งเป็นแบบสอบถามมาตรฐานที่มีค่าดัชนีความตรงของเนื้อหาที่ยอมรับได้ 0.80 ขึ้นไป วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) situs toto
ผลการศึกษา: จากการศึกษาพบว่า ความไว้วางใจในทีมสุขภาพมีอิทธิพลต่อคุณภาพการนอนหลับในทิศทางเดียวกันกับคุณภาพการนอนหลับที่ดี สามารถทำนายคุณภาพการนอนหลับได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (R2 = 0.040) มีอิทธิพลสูงที่สุด (ß = 0.201) ส่วนความรุนแรงของอาการ (ß = -0.073) และการรับรู้ความเจ็บป่วย (ß = 0.020) ไม่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว
สรุปผลและการนำไปใช้: ผลการวิจัยครั้งนี้เสนอแนะให้พยาบาลและทีมสุขภาพ ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้ว เพื่อพัฒนาความสามารถในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจห้องบนเต้นพลิ้วต่อไป
คำสำคัญ : การรับรู้ความเจ็บป่วย, ความไว้วางใจในทีมสุขภาพ,ความรุนแรงของอาการ