กรณีศึกษา การดูแลผู้ป่วยภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตร่วมกับ มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ในห้องฉุกเฉิน A Case Study: Care of a Patient with Septic Shock and Acute Respiratory Failure in the Emergency Room / ธัญรดี ครามเขียว Thunradee Kramkeaw
- October 14, 2024
- admin
- 0
กรณีศึกษา การดูแลผู้ป่วยภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตร่วมกับมีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ในห้องฉุกเฉิน
A Case Study: Care of a Patient with Septic Shock and Acute Respiratory Failure in the Emergency Room
Authors
ธัญรดี ครามเขียว
Thunradee Kramkeaw
(Received: September 15 , 2024; Revised: September 24, 2024; Accepted: October 5, 2024)
บทคัดย่อ
บทนำ: ภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต เป็นภาวะที่การอักเสบแพร่กระจายทั่วร่างกายโดยมีสาเหตุจากการติดเชื้อหรือตัวกระตุ้นอื่นๆ ที่พบได้บ่อย คือการติดเชื้อในปอด ทำให้อัตราการเสียชีวิตสูง จากภาวะการหายใจล้มเหลว
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาล และการดูแลผู้ป่วยภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตร่วมกับมีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน ในห้องฉุกเฉิน
รูปแบบการศึกษา : เป็นการวิเคราะห์และเปรียบเทียบกรณีศึกษากับหลักวิชาการและนำผลการศึกษาไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยรายอื่น
ผลการศึกษา : ผู้ป่วยชายไทย อายุ 75 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการ 3 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีไข้ เหนื่อยหอบ พ่นยาแล้วไม่ดีขึ้น แรกรับที่ห้องฉุกเฉินอุณหภูมิ 38.2 องศาเซลเซียส ชีพจร 117 ครั้ง/นาที อัตราการหายใจ 32 ครั้ง/นาที ความดันโลหิต 88/54 มิลลิเมตรปรอท O2 Sat 82 % ปลายมือปลายเท้าเย็น ให้การพยาบาลเกี่ยวกับการประเมินภาวะพร่องออกซิเจน และดูแลผู้ป่วยขณะใช้เครื่องช่วยหายใจ เฝ้าระวังภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจ และการติดเชื้อ ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะ และยาคอร์ติโคสเตียรอย ตามแผนการรักษา ส่งต่อผู้ป่วยไปหอผู้ป่วยหนักระบบทางเดินหายใจ และย้ายไปหอผู้ป่วยในอายุรกรรม ผู้ป่วยอาการทั่วไปดีขึ้น แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ รวมระยะเวลาในการนอนรักษาพยาบาล 18 วัน นัดติดตามอาการ 1 เดือน
สรุปผล: การดูแลผู้ป่วยภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสโลหิตร่วมกับมีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันในบทบาทของพยาบาลในห้องฉุกเฉิน มีบทบาทสำคัญคือต้องมีความรู้ ทักษะ ความเชี่ยวชาญ ในการให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง ปลอดภัย และไม่มีภาวะแทรกซ้อน
คำสำคัญ : ภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต, ภาวะหายใจล้มเหลว, การคัดแยกผู้ป่วย