การพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทีไม่ยกร่วมกับภาวะหัวใจ ล้มเหลวเฉียบพลันที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดค้ำยัน : กรณีศึกษา Nursing care for Non-ST Segment elevation Myocardial Infarction with Heart Failure patients with Percutanous Coronary Intervention with Stent: Case Study / ศิริจันทร์ แก้วสียา Sirichun
- October 13, 2024
- admin
- 0
การพยาบาลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทีไม่ยกร่วมกับภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดค้ำยัน : กรณีศึกษา
Nursing care for Non-ST Segment elevation Myocardial Infarction with Heart Failure patients with Percutanous Coronary Intervention with Stent: Case Study
Authors
ศิริจันทร์ แก้วสียา
Sirichun Keawseya
(Received: September 15 , 2024; Revised: September 24, 2024; Accepted: October 5, 2024)
บทคัดย่อ
บทนำ: ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทีไม่ยกร่วมกับภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันเป็นภาวะที่รุนแรงคุกคามต่อชีวิตผู้ป่วย เกิดจากการที่ผู้ป่วยมีภาวะปัจจัยโรคร่วม ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงที่รักษาไม่ต่อเนื่อง ผู้ป่วยจะมีอาการเหนื่อยง่าย เจ็บแน่นหน้าอก ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ จึงต้องได้รับการวินิจฉัยรักษาโดยทันทีด้วยยาและการทำหัตถการขยายหลอดเลือดหัวใจและใส่ขดลวดค้ำยัน scatter hitam
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทีไม่ยกร่วมกับภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจและใส่ขดลวดค้ำยันตามแนวคิดทฤษฎีโอเร็ม
รูปแบบการศึกษา: เป็นการวิเคราะห์และเปรียบเทียบกรณีศึกษากับหลักวิชาการและนำผลการศึกษาไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยรายอื่น
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยหญิงไทยอายุ 56 ปี มีโรคประจำตัว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง รับประทานยาและรักษาไม่สม่ำเสมอมาโรงพยาบาลด้วยอาการเหนื่อยง่าย เจ็บแน่นหน้าอก บวมที่เท้า 2 ข้าง เข้ารับการรักษาที่สถาบันโรคทรวงอก แรกรับผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ผลการประเมินอาการทางสมอง E4V5M6 อัตราการเต้นของหัวใจ 90-100 ครั้งต่อนาที อัตราการหายใจ 22-24 ครั้งต่อนาที ความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดเท่ากับ 92-95 เปอร์เซ็นต์ ความดันโลหิต 147/87 มิลลิเมตรปรอท อุณหภูมิร่างกาย 36.8 องศาเซลเซียส แพทย์วินิจฉัยมีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทีไม่ยกร่วมกับภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ได้รับยาต้านเกร็ดเลือดและยาละลายลิ่มเลือดชนิดฉีดใต้ผิวหนังร่วมกับได้รับยาขับปัสสาวะชนิดฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ และได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ พบหลอดเลือดหัวใจตีบ 2 เส้น จึงได้รับการรักษาด้วยวิธีการขยายหลอดเลือดหัวใจและใส่ขดลวดค้ำยัน ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นและกลับบ้านเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 situs toto
สรุป: การดูแลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทีไม่ยกร่วมกับภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจและใส่ขดลวดค้ำยัน พยาบาลต้องมีความชำนาญและทักษะในการดูแลผู้ป่วย เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน และลดอัตราการเสียชีวิต
คำสำคัญ : กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทีไม่ยก, ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน, ทฤษฎีของโอเร็ม