การพยาบาลผู้ป่วยโรคต้อหินที่ได้รับการผ่าตัดทำทางระบายน้ำออกจากตา:กรณีศึกษา / ผู้เเต่ง : กัลยกร ณ รังษี Kanyakorn Na Rangsee
- July 31, 2024
- admin
- 0
การพยาบาลผู้ป่วยต้อหินที่มีเส้นเลือดงอกใหม่ร่วมกับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา : กรณีศึกษา
Nursing Care for Patients with Neovascular Glaucoma and Diabetic Retinopathy : A case study
Authors
กัลยกร ณ รังษี
Kanyakorn Na Rangsee
(Received: July 5 , 2024; Revised: July 20, 2024; Accepted: July 27, 2024)
บทคัดย่อ
บทนำ โรคต้อหินเป็นโรคของดวงตาชนิดหนึ่งที่พบบ่อย เป็นภาวะที่มีความผิดปกติของดวงตา
เป็นสาเหตุที่ทำให้ตาบอด และส่งผลให้เกิดความพิการหลงเหลืออยู่ มีผู้ป่วยจำนวนมากที่ได้รับการรักษาล่าช้า เนื่องจากยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคต้อหิน ส่งผลให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาล และการดูแลผู้ป่วยต้อหินที่มีเส้นเลือดงอกใหม่ร่วมกับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา
รูปแบบการศึกษา: เป็นการวิเคราะห์กรณีศึกษากับหลักวิชาการ และนำผลการศึกษาไปใช้ในการดูแลผู้ป่วย
ผลการศึกษา ผู้ป่วยชายไทย อายุ 40 ปี มีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน รักษาที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา มาโรงพยาบาลด้วยอาการปวดตาขวามาก ตามัวลง มีคลื่นไส้ ไม่อาเจียน มีระดับความดันลูกตาสูง จึงส่งตัวมารับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลราชวิถีแพทย์ได้ทำการรักษาโดยการทำหัตถการเจาะน้ำช่องหน้าม่านตา เพื่อลดความดันลูกตาร่วมกับการฉีดยาเข้าวุ้นตา และให้ยาลดความดันลูกตาชนิดยาหยอดกลับบ้าน จากนั้นนัดตรวจติดตามอาการเป็นระยะ รวมระยะเวลารักษาและติดตามอาการทั้งสิ้น 5 เดือน
การสรุปผลและการนำไปใช้ ผู้ป่วยโรคต้อหินที่มีเส้นเลือดงอกใหม่ร่วมกับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเป็นโรคที่มีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่ายเนื่องจากความสามารถในการมองเห็นลดลง พยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยจึงต้องมีความรู้และความเข้าใจถึงพยาธิสภาพของโรค แนวทางการดูแลรักษา ภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งต้องมีศักยภาพในการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยให้เฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วย
แต่ละราย โดยใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน
คำสำคัญ การพยาบาล โรคต้อหิน ภาวะแทรกซ้อนของต้อหิน