การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (ST Elevation Myocardial Infarction [STEMI] ) ที่ต้องได้รับการถ่างขยายหลอดเลือดฉุกเฉิน (Primary percutaneous coronary intervention : PCI)
- June 4, 2024
- admin
- 0
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
(ST Elevation Myocardial Infarction [STEMI] ) ที่ต้องได้รับการถ่างขยายหลอดเลือดฉุกเฉิน (Primary percutaneous coronary intervention : PCI)
Authors
นวรัตน์ กิตติโรจนพันธ์*
Nawarat Kittirotjanaphan*
(Received: April 16, 2024; Revised: May 16, 2024; Accepted: May 21, 2024)
บทคัดย่อ
บทนำและวิธีการศึกษา : ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ชนิด STEMI เป็นภาวะวิกฤตที่มีอันตรายถึงชีวิต ผู้ป่วยจำเป็น ที่จะต้องได้รับการวินิจฉัยดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว และได้รับการรักษาด้วยการเปิดหลอดเลือดหัวใจแบบเร่งด่วน ในปัจจุบันการเปิดหลอดเลือดหัวใจด้วยการถ่างขยายหลอดเลือดฉุกเฉิน เป็นการรักษาที่ได้ผลดีที่สุดแต่ในบริบทของโรงพยาบาลชุมชนยังมีข้อจำกัดหลายประการในการส่งต่อผู้ป่วย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลผู้ป่วยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ต้องได้รับการถ่างขยายหลอดเลือดฉุกเฉิน (Primary percutaneous coronary intervention: PCI)
รูปแบบการศึกษา: เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบกรณีศึกษากับหลักวิชาการและนำผลการศึกษาไปใช้
ผลการศึกษา เพศชาย อายุ 48 ปี ปฏิเสธโรคประจำตัว ประวัติสูบบุหรี่วันละ10 มวน 10 ปี มาโรงพยาบาลด้วยอาการ เจ็บหน้าอกร้าวไปที่คอและแขนซ้าย 1 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล ได้รับการวินิจฉัย มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ได้รับการดูแลรักษาส่งต่อด้วยระบบ STEMI Fast Track เพื่อทำ PCI ได้อย่างปลอดภัยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
สรุป : จากกรณีศึกษานี้พบว่า พยาบาลห้องฉุกเฉินมีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะวิกฤต ที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน โดยต้องมีสมรรถนะเฉพาะทางขั้นสูงในการประเมิน คัดกรอง การดูแลผู้ป่วยในภาวะวิกฤต และมีทักษะในการประสานงานตามระบบส่งต่อช่องทางด่วนตลอดจนสามารถดูแลส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าเพื่อถ่างขยายหลอดเลือดฉุกเฉินด้วยความปลอดภัย
คำสำคัญ : การถ่างขยายหลอดเลือดฉุกเฉิน, การพยาบาล, ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน