กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ชนิด STยกสูง (STEMI)
- June 4, 2024
- admin
- 0
กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STยกสูง (STEMI)
Case study: Nursing care of patients with Acute ST Elevation Myocardial Infraction
Authors
ฉวีวงค์ ล้ำเลิศ
Chaweewong Lumlert
(Received: April 15, 2024; Revised: May 15, 2024; Accepted: May 20, 2024)
บทคัดย่อ
ความสำคัญของปัญหา: ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด ST ยกสูง (Acute ST Elevation Myocardial Infraction: STEMI) ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูง หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงที รวมถึงการเข้ารับการรักษาล่าช้า ระบบคัดกรองที่แม่นยำรวดเร็วและระบบส่งต่อที่มีประสิทธิภาพอาจลดความล่าช้าในการเข้ารับการรักษาได้ งานผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวชโรงพยาบาลบางระจันได้มีการทบทวนการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันและรวบรวมปัญหาพบว่าปัญหาการเข้าถึงบริการ การคัดกรองที่ไม่ครอบคลุม
แนวทางการส่งต่อที่ยังไม่เป็นระบบและเพื่อนำปัญหามาหาแนวทางแก้ไขร่วมกันอย่างเป็นระบบเครือข่าย ส่งผลให้การวินิจฉัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ป่วยได้รับการส่งต่อไปรับการรักษาในโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาล การดูแลขณะส่งต่อผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
รูปแบบการศึกษา: เป็นการวิเคราะห์และเปรียบเทียบกรณีศึกษากับหลักวิชาการและนำผลการศึกษาไปใช้
ผลการศึกษา: จากการศึกษาข้อมูลการมารับการรักษาของผู้ป่วยโรงพยาบาลบางระจัน ปัญหาที่ทำให้ประชาชนมารับการรักษาล่าช้าเกิดจากหลายสาเหตุได้แก่ อาการที่ไปโรงพยาบาลไม่ใช่อาการเจ็บหน้าอกทำให้การคัดกรองคลาดเคลื่อน การไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือคลินิกก่อนมาโรงพยาบาลและไม่ได้รับการคัดกรองอาการหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ได้รับการคัดกรอง การวินิจฉัยล่าช้าส่งผลให้ได้รับการส่งต่อล่าช้าตามมา
สรุป: การศึกษาในครั้งนี้พบว่า ระบบการคัดกรองยังมีความคลาดเคลื่อนส่งผลให้การวินิจฉัยการรักษาและการส่งต่อล่าช้าตามมา ผู้ป่วยและญาติขาดความรู้อาการเตือนโรคหลอดเลือดหัวใจ
คำสำคัญ : ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย, การพยาบาล, การคัดกรอง