การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์และคลอดก่อนกำหนดร่วมกับภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์และความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
- December 22, 2023
- admin
- 0
การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์และคลอดก่อนกำหนดร่วมกับภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์และความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
Nursing Care for Pregnant Women with Complications: Preterm Birth, Gestational Diabetes, and Chronic Hypertension
Authors
จิตรลดา กลิ่นสุคนธ์
Jitlada Klinsukon
(Received: November 10, 2023; Revised: November 25, 2023; Accepted: December 14, 2023)
ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดหมายถึงการคลอดที่มีอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดมีหลายสาเหตุ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวานขณะตั้งครรภ์ มารดาที่ตั้งครรภ์อายุมาก ปากมดลูกสั้น มีประวัติคลอดก่อนกำหนด มีน้ำเดินก่อนเจ็บครรภ์เป็นต้นซึ่ง สาเหตุอันดับ 1 ของโรงพยาบาลสิงห์บุรีในปี พ.ศ.2566 คือ PPROM พบร้อยละ 29.73 ของทารกคลอดก่อนกำหนดโดยส่งผลกระทบต่อทารก ครอบครัวและสังคม
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลและการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดร่วมกับภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์และความดันโลหิตสูงเรื้อรัง
รูปแบบการศึกษา: เป็นการวิเคราะห์กรณีศึกษากับหลักวิชาการและนำผลการศึกษาไปใช้ดูแลหญิงตั้งครรภ์
ผลการศึกษา: กรณีศึกษารายนี้มีภาวะวิกฤติที่มีเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึง 2 ชีวิตภาวะ เจ็บครรภ์คลอดและคลอดก่อนกำหนด ตอนอายุครรภ์ 29+2สัปดาห์ ร่วมกับภาวะเบาหวานและภาวะความดันโลหิตสูงเรื้อรังขณะตั้งครรภ์ขณะให้การรักษาการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดมารดาไม่เจ็บครรภ์ภาวะความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดปกติ เมื่อมดลูกไม่บีบตัวแล้วแพทย์ปรับการรักษาให้เหมาะสมหลังปรับยา มารดากลับมาเจ็บครรภ์ถี่และไม่สามารถยับยั้งการคลอดได้จึงต้องปล่อยคลอดการคลอดอายุครรภ์ น้อยๆและการดูแลทารกแรกเกิดรายนี้มีความซับซ้อนในการดูแลอย่างสูงพยาบาลต้องมีความรู้และทักษะที่เหมาะสม สามารถประเมินภาวะผิดปกติหรือสัญญาณเตือนอันตรายและรายงานแพทย์อย่างทันท่วงทีประสานงานกับทีมกุมารแพทย์วางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว ต้องมีสติ สามารถให้การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างรวดเร็วนอกจากนี้ยังต้องสื่อสารข้อมูลภาวะวิกฤติของหญิงตั้งครรภ์ แลทารกในครรภ์ แผนการรักษาแก่หญิงตั้งครรภ์และญาติอย่างชัดเจนเป็นระยะๆเพื่อให้ผู้คลอดและญาติรับรู้ภาวะวิกฤติและอาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจนทั้งนี้เพื่อป้องกันการร้องเรียนเมื่อเกิดอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกซึ่งเป็นการดูแลแบบองค์รวมทั้งทางด้านร่างกาย จิตสังคม ในระยะเวลาที่วิกฤติท่ามกลางสถานการณ์ของบุคลากรที่มีจำนวนจำกัด
สรุป: ปัจจัยที่ทำให้บรรลุผลลัพธ์การรักษาพยาบาลมารดาและทารกคลอดก่อนกำหนดนั้นคือการประเมินมารดาและทารก การวินิจฉัยและการให้การรักษาแต่เริ่มแรกจะช่วยลดการคลอดก่อนกำหนดลงได้การเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ให้พร้อมช่วยเหลือมารดาและทารกตลอดเวลา การทำงานเป็นทีมทั้งสูติแพทย์ กุมารแพทย์ พยาบาลห้องคลอดและพยาบาลกุมารเวชการพัฒนาความรู้ใหม่ๆอย่างต่อเนื่อง
คำสำคัญ : คลอดก่อนกำหนด, ภาวะแทรกซ้อน, การวินิจฉัย