การพยาบาลผู้คลอดครรภ์แฝดและคลอดทางช่องคลอด
- December 22, 2023
- admin
- 0
การพยาบาลผู้คลอดครรภ์แฝดและคลอดทางช่องคลอด
Nursing care of Twin Pregnancy and Normal Vaginal Delivery
Authors
จิราพร แสงศักดิ์
Jiraporn SangSuk
(Received: November 10, 2023; Revised: November 25, 2023; Accepted: December 14, 2023)
ความสำคัญของปัญหา: การตั้งครรภ์แฝด เป็นการตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง มักคลอดก่อนกำหนด เนื่องจากความจำกัดพื้นที่ในโพรงมดลูกและความไม่สมบูรณ์ของทารกคลอดก่อนกำหนด จึงพบภาวะแทรกซ้อนต่างๆทั้งต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกได้มากกว่าการตั้งครรภ์ปกติ อุบัติการณ์ของครรภ์แฝดพบได้ประมาณ 1 ต่อ 90 ของการตั้งครรภ์ ปัจจุบันพบว่าอุบัติการณ์ของการตั้งครรภ์แฝดเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50 ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา1 เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์มากขึ้น จึงกล่าวได้ว่าทุกโรงพยาบาลต้องมีความพร้อมในการดูแลผู้คลอดที่ตั้งครรภ์แฝดตลอดเวลา โดยเฉพาะบริบทของโรงพยาบาลสรรพยา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลชุมชน ไม่มีสูติแพทย์ ถ้าพบอุบัติการณ์การคลอดฉุกเฉินทางช่องคลอดแก่ผู้คลอดครรภ์แฝดที่มีส่วนนำเป็นศีรษะและก้นทางช่องคลอด พยาบาลผู้ทำคลอดจึงมีบทบาทสำคัญในการดูแลเพื่อให้มารดาและทารกแรกเกิดปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาลและการดูแลผู้คลอดที่การพยาบาลผู้คลอดครรภ์แฝดและคลอดทางช่องคลอด
รูปแบบการศึกษา: เป็นการวิเคราะห์และเปรียบเทียบกรณีศึกษากับหลักวิชาการและนำผลการศึกษาไปใช้
ผลการศึกษา: กรณีศึกษาอายุ 28ปี G3 P2 Ab0 L2 Last child 6 ปี ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลสรรพยา Late ANC อายุครรภ์ 35+2 สัปดาห์ by Ultrasound ไม่ทราบว่าตั้งครรภ์แฝด ผลเลือดปกติ 1 ชม.ก่อนมารพ.มีน้ำเดินและ มูกเลือดออกทางช่องคลอด แรกรับ Cervix fully dilate ทำคลอดปกติ ทารกคลอด เพศหญิง น้ำหนัก 2075 กรัม Apgar score ที่ 1,5,10 นาที = 9,10,10 หลังคลอดทารกแฝดคนที่ 1 จึงทราบว่า เป็นการตั้งครรภ์แฝด ทารกแฝดคนที่ 2 ท่าก้น ช่วยคลอดท่าก้น ทารกคลอดปกติ เพศหญิง น้ำหนัก 1705 กรัม Apgar score ที่ 1,5,10นาที = 6,8,10 ช่วยหายใจด้วยแรงดันบวก(PPV) 1 นาที และส่งต่อไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร มารดาหลังคลอดและแฝดคนที่ 1 แข็งแรงดี ไม่ภาวะแทรกซ้อน นอนรักษาในรพ. 3 วัน แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้
สรุป:การตั้งครรภ์แฝด ส่วนใหญ่แพทย์จะวางแผนการรักษาโดยทำการผ่าตัดคลอด เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกแรกเกิดจากการคลอด แต่ถ้าวางแผนการรักษาโดยให้คลอดทางช่องคลอดนั้น ต้องทำคลอดโดยสูติแพทย์ กรณีศึกษารายนี้มีความผิดพลาดในการวินิจฉัยในระยะตั้งครรภ์ และเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและมาคลอดฉุกเฉิน พยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญในการทำคลอดทางช่องคลอด ให้มารดาและทารกคลอดอย่างปลอดภัย
คำสำคัญ : การตั้งครรภ์แฝด ,ท่าก้น,การคลอดท่าก้นทางช่องคลอด