การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลพรหมบุรี
- December 22, 2023
- admin
- 0
การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI ในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลพรหมบุรี
Nursing care of patients with acute myocardial infarction (STEMI) in emergency department, Promburi Hospital.
Authors
โสภา ปานชื่น
Sopa Pancheun
(Received: November 10, 2023; Revised: November 25, 2023; Accepted: December 14, 2023)
บทนำและวิธีการศึกษา: ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิด STEMI เป็นภาวะวิกฤตที่ทำให้ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว มีสาเหตุจากการอุดตันของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจแบบสมบูรณ์ ดังนั้นผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาแบบเร่งด่วนโดยการให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือส่งไปทำการเปิดขยายหลอดเลือดผ่านสายสวน PCI ซึ่งเป็นการรักษาที่มีประสิทธิภาพดีกว่าการให้ยาละลายลิ่มเลือด การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบกรณีศึกษา จำนวน 2 ราย ที่เข้ารับการรักษาในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย เพื่อให้การพยาบาลมีคุณภาพ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
ผลจากการศึกษา : พบว่า ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 1 หญิงไทย อายุ 64 ปี มาด้วยอาการปวดแน่นหน้าอก ร้าวไปคอ ปวดศีรษะ เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรงก่อนมา รพ.1 วัน มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูงและไขมันในเลือดสูงตั้งแต่ปี 2551รับการรักษาต่อเนื่อง ทำ EKG 12 lead พบST elevate ที่ V1-V4 ได้รับการรักษาด้วย ASA (81), Isodril 5 mg และ Clopidogrel 75 mg แต่ไม่ได้รับการรักษาด้วย Streptokinase ในการละลายลิ่มเลือด และการดูแลตามแผนการพยาบาลทั้งหมด 4 แผน และส่งต่อไปรับการทำ PCI ที่ รพ.พระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรีจนผู้ป่วยปลอดภัย ผู้ป่วยกรณีศึกษารายที่ 2ชายไทยอายุ 25 ปีมาด้วยอาการ 10 นาทีก่อนมาโรงพยาบาลมีผู้ไปพบผู้ป่วยนอนหมดสติ เรียกไม่รู้สึกตัว ปฏิเสธโรคประจำตัวแต่มีประวัติใช้สารเสพติดคือยาบ้า ผู้ป่วยได้รับการช่วยชีวิต advance life support จนสามารถจับชีพจร และตรวจวัดความดันโลหิตได้ ขณะ On Monitor พบ VFทำ EKG 12 lead พบ ST Elevate ที่ V2-V6 ได้รับ ASA(81) 4 tab, Clopidogrel 75mg 4 Tab ไม่ได้รับการรักษาด้วย Streptokinase ดูแลตามแผนการพยาบาลทั้งหมด 4 แผน จนผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะหยุดหายใจ และส่งไปทำ PCI ที่รพ.พระมงกุฎเกล้า
สรุปผลการศึกษาจากกรณีศึกษา: พยาบาลแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน มีบทบาทสำคัญในการประเมินคัดกรองผู้ป่วยอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ขณะมาถึงโรงพยาบาล ทำให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้อง ได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดอย่างรวดเร็ว ดังนั้น พยาบาลต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะ STEMI ให้การพยาบาลในภาวะวิกฤติ สามารถบริหารยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เฝ้าระวังภาวะผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้นับตั้งแต่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจนกระทั่งส่งต่อในโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตลดลง
คำสำคัญ : ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดชนิด STEMI,กรณีศึกษาการพยาบาล,แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินฯ