การพยาบาลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกที่เสี่ยงต่อภาวะช็อก
- December 22, 2023
- admin
- 0
การพยาบาลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกที่เสี่ยงต่อภาวะช็อก
Nursing care for ectopic pregnancy with high risk of shock
Authors
ลัดดา แพ่งประสิทธิ์
Ladda Pangprasit
(Received: November 10, 2023; Revised: November 25, 2023; Accepted: December 10, 2023)
การตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดจากการฝังตัวของรกและตัวอ่อนภายนอกโพรงมดลูก เป็นภาวะฉุกเฉินที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติทั่วไป ซึ่งต้องได้รับการวินิจฉัยและให้การรักษาอย่างทันท่วงที และอาจก่อให้เกิดภาวะทุพลภาพหรือเสียชีวิตได้ ในกรณีที่มาพบแพทย์ช้าหรือได้รับการรักษาที่ ไม่เหมาะสม วิธีการศึกษา เลือกกรณีศึกษาผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกแบบเฉพาะเจาะจง โดยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีการตั้งครรภ์นอกมดลูก ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสิงห์บุรี ในปีงบประมาณ 2564-2566 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบบันทึกการซักประวัติผู้ป่วยนอก, แบบบันทึกการส่งต่อโดยระบบ Fast tract,แบบบันทึกเวชระเบียน,แบบบันทึกทางการพยาบาล และนำข้อมูลมาวิเคราะห์และปรับปรุง แนวทางการพยาบาลให้มีคุณภาพแบบองค์รวม
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษากระบวนการพยาบาล และการดูแลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกที่เสี่ยงต่อภาวะช็อค ให้ได้มาตรฐานแบบองค์รวม ตั้งแต่ระยะก่อนตรวจ ขณะตรวจและหลังตรวจรักษา รวมถึงสามารถส่งต่อผู้ป่วยนอนโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ปลอดภัย
รูปแบบการศึกษา: เป็นการวิเคราะห์และเปรียบเทียบกรณีศึกษากับหลักวิชาการและนำผลการศึกษา
ไปใช้
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยรายนี้มาโรงพยาบาล ด้วยอาการปวดท้องน้อย มีเลือดออกทางช่องคลอดเวียนศีรษะ ประจำเดือนขาด 1+ เดือน จึงส่งตรวจการตั้งครรภ์ ผล positive แพทย์ Ultrasoundพบ Empty uterus with free fluid in cul-de sac and Left adnexal mass 4.1 centimeters ตรวจภายในพบเลือดในช่องคลอดเล็กน้อย เจ็บท้องน้อยขณะแพทย์โยกมดลูก แพทย์วินิจฉัยครั้งแรกเป็น Ectopic pregnancy ต้องผ่าตัดด่วน ซึ่งปัญหาสำคัญของผู้ป่วยคือ เสี่ยงต่อภาวะช็อกจากท่อนำไข่แตกและเสียเลือด จึง Fast Tract ผู้ป่วยพร้อมเอกสารไป หอผู้ป่วยสูติ นรีเวชกรรม ทันที เพื่อให้ได้รับการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจก่อนผ่าตัดอย่างเร่งด่วน ผู้ป่วยได้รับการผ่าตัด Exploratory laparotomy with left salpingectomy ขณะผ่าตัดพบท่อนำไข่ข้างซ้ายแตก รวมเสียเลือด 3,000 มิลลิลิตร แพทย์วินิจฉัยครั้งสุดท้าย Rupture Lt tubal pregnancy with hypovolemic shock ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพแบบองค์รวม มีอาการดีขึ้นตามลำดับ ไม่พบภาวะแทรกซ้อน รวมระยะเวลานอนโรงพยาบาล 4 วัน
สรุป การพยาบาลผู้ป่วยตั้งครรภ์นอกมดลูกที่เสี่ยงต่อภาวะช็อก ถือเป็นภาวะเร่งด่วน ถ้าได้รับการ คัดกรองและคัดแยกประเภทผู้ป่วยล่าช้า จะมีผลทำให้ผู้ป่วยอาการทรุดลงได้ จากท่อนำไข่แตก และนำไปสู่การตกเลือด สัญญาณชีพเปลี่ยนแปลง ไตวายเฉียบพลัน ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้
ดังนั้นพยาบาลผู้ป่วยนอก จึงต้องมีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์สูง ในการคัดกรองและคัดแยกประเภทผู้ป่วยนอก ประเมินอาการและอาการแสดง ซักประวัติอย่างละเอียด วัดสัญญาณชีพ และจัดลำดับในการให้การพยาบาล ก่อนตรวจรักษา ขณะตรวจรักษา และหลังตรวจรักษา ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลที่รวดเร็ว ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงส่งผู้ป่วยไปหอผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว เพื่อให้ได้รับการเตรียมความพร้อมในการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น และให้การพยาบาลตามมาตรฐานวิชาชีพแบบองค์รวมอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการดูแลฟื้นฟูร่างกายและจิตใจหลังจากผู้ป่วยพ้นภาวะฉุกเฉิน ให้คำแนะนำเพื่อให้ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจ เพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถดูแลตัวเองได้อย่างมีคุณภาพต่อไป
คำสำคัญ : ตั้งครรภ์นอกมดลูก,การพยาบาล,ช็อค