หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา
รายละเอียดของหลักสูตร
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562
ชื่อหลักสูตร ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of science Program in Microbiology
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (จุลชีววิทยา)
ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (จุลชีววิทยา)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science (Microbiology)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Sc. (Microbiology)
Facebook : Microbiologyrmutsb
รายละเอียดหลักสูตร
ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (จุลชีววิทยา)
ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (จุลชีววิทยา)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science (Microbiology)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Sc. (Microbiology)
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 120 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐาน หลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาภาษา 13 หน่วยกิต
3. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 11 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 84 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 19 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาชีพบังคับ 37 หน่วยกิต
3. กลุ่มวิชาชีพเลือก 21 หน่วยกิต
4. กลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพ 7 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
– จุลชีววิทยาพื้นฐาน
– พันธุศาสตร์จุลินทรีย์
– เครื่องมือทางจุลชีววิทยา
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกประเภทวิชา หรือระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย (ม.6) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือเทียบเท่า หรือ
2. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทุกประเภทวิชา หรือระดับ อนุปริญญาทุกสาขาวิชาหรือเทียบเท่า หรือระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา ทั้งนี้โดยใช้การเทียบโอนผลการ เรียนตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ภาคผนวก ก)
1. นักวิทยาศาสตร์ (ด้านจุลชีววิทยา)
2. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์คุณภาพในอุตสาหกรรมด้านอาหาร เกษตร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมด้านอาหาร เกษตร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. นักวิชาการ หรือผู้ช่วยนักวิจัย
5. พนักงานส่งเสริมการขาย วัสดุ สารเคมี และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
6. ประกอบอาชีพส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับจุลชีววิทยา
ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา เปิดสอนในระดับปริญญาตรี
ขั้นตอนการสมัครเรียน
กรอกเเบบฟอร์มการสมัครเรียน
กรอกเเบบฟอร์มการสมัครเรียน กดปุ่มบันทึก เเละรอผลทางเว็บไซต์ที่สมัคร
ตรวจสอบสถานะ
ตรวจสอบสถานะการสมัครเเละกรอกเเบบฟอร์มรายงานตัวผ่านเว็บไซต์ https://admissions.rmutsb.ac.th/web_admis
พิมพ์เเบรายงานตัว
เมื่อนักศึกษาทำทุกขั้นตอนเรียบร้อยให้พิมพ์ใบรายงานตัวพร้อมใบ Payin ชำระเงินผ่านช่องทางที่มหาวิทยาลัยกำหนด เเล้วส่งเอกสารรายงานตัวให้มหาวิทยาลัย
ถ้านักศึกษายังไม่เข้าใจขั้นตอนการสมัครเรียนสามารถ คลิกดาวน์โหลดคู่มือการสมัครเพิ่มเติม