สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและเศรษฐกิจดิจิทัล
วิดีโอแนะนำสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและเศรษฐกิจดิจิทัล
รายละเอียดของหลักสูตร หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ชื่อหลักสูตร ภาษาไทย วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ภาษาอังกฤษ Bachelor of Science Program in Information Technology
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
ชื่อย่อ (ไทย) วท.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) Bachelor of Science (Information Technology)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) B.Sc. (Information Technology)
Facebook
หันตรา : หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ ศูนย์หันตรา
สุพรรณบุรี : คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์สุพรรณบุรี
นนทบุรี : csnon
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 125 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐาน หลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาภาษา 13 หน่วยกิต
3. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 11 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 89 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 12 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาชีพบังคับ 55 หน่วยกิต
3. กลุ่มวิชาชีพเลือก 15 หน่วยกิต
4. กลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพ 7 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
วิชาหลัก (Hi-light)
- การเขียนโปรแกรม
- โครงสร้างของคอมพิวเตอร์
- การประยุกต์ใช้งานฯ
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกประเภทวิชาหรือระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้หรือเทียบเท่าและมีคุณสมบัติอื่นๆตามข้อบังคับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาพ.ศ. 2550 และที่แก้ไข เพิ่มเติม (ภาคผนวก ก) หรือ
2. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาคอมพิวเตอร์ หรือระดับอนุปริญญาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ หรือเทียบเท่าทั้งนี้โดยใช้การเทียบโอนผลการเรียนตาม ระเบียบมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิว่าด้วยการเทียบโอนผลการศึกษาพ.ศ. 2552 และ ประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิเรื่องแนวปฏิบัติในการดำเนินการการเทียบโอนผล การศึกษาจากการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับปริญญาตรีพ.ศ. 2555 รวมทั้ง ข้อบังคับประกาศที่เกี่ยวข้องและมีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน (ภาคผนวก ก) หรือ
3. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีโดยใช้การเทียบโอนผลการเรียนตามระเบียบของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิว่าด้วยการเทียบโอนผลการศึกษา พ.ศ.2550
อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา
1.นักเขียนโปรแกรมประยุกต์
2. นักวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ
3. นักจัดการข้อมูลและดูแลระบบฐานข้อมูล
4. ผู้ดูแลระบบเครือข่าย เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและเว็ปไซต์
5. นักวิเคราะห์ข้อมูล