เว็บไซต์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ

สาขาวิชาจุลชีววิทยา

วิดีโอแนะนำสาขาวิชาจุลชีววิทยา

รายละเอียดของหลักสูตร หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562
ชื่อหลักสูตร ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of science Program in Microbiology

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย) : วิทยาศาสตรบัณฑิต (จุลชีววิทยา)
ชื่อย่อ (ไทย) : วท.บ. (จุลชีววิทยา)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Science (Microbiology)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Sc. (Microbiology)

Facebook : Microbiologyrmutsb


จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 120 หน่วยกิต


โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐาน หลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้


ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต

1. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาภาษา 13 หน่วยกิต
3. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 11 หน่วยกิต

ข. หมวดวิชาเฉพาะ 84 หน่วยกิต

1. กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ 19 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาชีพบังคับ 37 หน่วยกิต
3. กลุ่มวิชาชีพเลือก 21 หน่วยกิต
4. กลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพ 7 หน่วยกิต

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

วิชาหลัก (Hi-light)

- จุลชีววิทยาพื้นฐาน
- พันธุศาสตร์จุลินทรีย์
- เครื่องมือทางจุลชีววิทยา

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกประเภทวิชา หรือระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย (ม.6) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือเทียบเท่า หรือ
2. สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทุกประเภทวิชา หรือระดับ อนุปริญญาทุกสาขาวิชาหรือเทียบเท่า หรือระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา ทั้งนี้โดยใช้การเทียบโอนผลการ เรียนตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ภาคผนวก ก)

อาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา

1. นักวิทยาศาสตร์ (ด้านจุลชีววิทยา)
2. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์คุณภาพในอุตสาหกรรมด้านอาหาร เกษตร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3. เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมด้านอาหาร เกษตร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. นักวิชาการ หรือผู้ช่วยนักวิจัย
5. พนักงานส่งเสริมการขาย วัสดุ สารเคมี และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์
6. ประกอบอาชีพส่วนตัวที่เกี่ยวข้องกับจุลชีววิทยา







2301 ครั้ง

Address

ศูนย์พระนครศรีอยุธยา หันตรา
เลขที่ 60 หมู่ 3 ถนนสายเอเชีย (กรุงเทพ-นครสวรรค์) ต.หันตรา อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา 13000
โทรศัพท์ 092-2630007

ศูนย์นนทบุรี
เลขที่ 217 ถ.นนทบุรี ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
โทรศัพท์ 02-969-1370 ถึง 73
โทรสาร : 0-2-525-2682

ศูนย์สุพรรณบุรี
เลขที่ 450 ถ.สุพรรณบุรี-ชัยนาท ต.ย่านยาว อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี 72130
โทรศัพท์/โทรสาร 035-434164

การให้บริการ

สถิติการเข้าชม
  • วันนี้ : 53 ครั้ง
  • เดือนนี้ : 21783 ครั้ง
  • ปีนี้ : 55743 ครั้ง
  • ทั้งหมด : 223412 ครั้ง
Follow Us
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นนทบุรี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สุพรรณบุรี

Copyright ©2022 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ