สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
วิดีโอแนะนำสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
รายละเอียดของหลักสูตร หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
ชื่อหลักสูตร ภาษาไทย: หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Technology Program in Multimedia Technology
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย) เทคโนโลยีบัณฑิต (เทคโนโลยีมัลติมีเดีย)
ชื่อย่อ (ไทย) ทล.บ.(เทคโนโลยีมัลติมีเดีย)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ) Bachelor of Technology (Multimedia Technology)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) B.Tech. (Multimedia Technology)
facebook : multimedia_technology_rmutsb
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 132 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐาน หลักสูตร กระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาภาษา 13 หน่วยกิต
3. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 11 หน่วยกิต
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 96 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาพื้นฐาน 30 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน 59 หน่วยกิต
3. กลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์วิชาชีพ 7 หน่วยกิต
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
วิชาหลัก (Hi-light)
- คอมพิวเตอร์กราฟิก
- เทคโนโลยีการถ่ายภาพดิจิทัล
- เทคโนโลยีการผลิตภาพเคลื่อนไหว
- การพัฒนาสื่อโดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1. สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ หรือเทียบเท่า ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ทุกประเภทวิชาหรือเทียบเท่า และมีคุณสมบัติอื่นๆ ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ภาคผนวก ก) หรือ
2. สำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญาทุกสาขาวิชาหรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทุกประเภทวิชาหรือเทียบเท่า หรือระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา โดยใช้การเทียบโอนผลการศึกษา ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษา ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2561 และข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ว่าด้วยการศึกษา ระดับปริญญาตรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ภาคผนวก ก)
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. นักพัฒนาสื่อมัลติมีเดีย
2. นักออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิก
3. นักสร้างภาพเคลื่อนไหว
4. นักพัฒนาสื่อปฏิสัมพันธ์และเว็บไซต์
5. นักพัฒนาเกมและสื่อเสมือนจริง
6. ผู้ประกอบการด้านมัลติมีเดีย